สถิติ
เปิดเมื่อ23/03/2012
อัพเดท6/01/2015
ผู้เข้าชม69002
แสดงหน้า94081
สินค้า
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




กรอกข้อมูลเพื่อขอรับรหัสผ่าน

*

หมายเหตุ : รหัสผ่านของท่านจะถูกส่งไปยังอีเมล์ที่ได้สมัครใช้บริการไว้



 
เพียว ไคโตซาน   เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non – phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์

ไคโตซานกับการเกษตรด้านการควบคุมศัตรูพืช
1. ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื่อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว (รักษาโรคพืช) และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดยไคโตซานมีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้
2. ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานจะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด – ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
3. ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโตซานสามารถส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อ Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ ( Furarium ) Phythophthora spp. ฯลฯ


รายชื่อศัตรูพืชที่มีการทดสอบแล้วว่าไคโตซานมีศักยภาพในการควบคุม
1. การกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานแมลงศัตรูพืช คือ หนอนใยผัก หนอนคืบและอื่น ๆ
การใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นกับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่)
อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
2. การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืช
- ไวรัสโรคพืช
- แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer
- แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว รากเน่า
– โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย


การใช้ไคโตซานกับนาข้าว
1. การปรับสภาพดินก่อนปลูก (ช่วงไถ )
ไคโตซาน 300 CC + น้ำ 30 – 50 ลิตร ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปสาดหรือราดให้ทั่วนาข้าวต่อไร่
กรณีดินเสียมาก ( ค่า PH ต่ำกว่า 4.5 ) และต้องการปรับสภาพดิน
ไถกลบหนาดินก่อนแล้วใช้ไคโตซาน  1 ขวด + น้ำ 200 ลิตร ราดบนหน้าดิน ต่อ 1 ไร่ เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้ดินและ เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
2. คลุกเมล็ดพันธุ์ ( การเคลือบเมล็ดพันธ์ )
ไค โตซาน 40 CC + น้ำ 20 ลิตร คนละลายให้เข้ากันแล้วนำไปรด/ราด บนเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่แช่แล้วในกระสอบปิดปากกระสอบไว้เหมือนเดิม ทิ้ง 1 คืน จากนั้นนำไปหว่าน ผลที่ได้เมล็ดพันธุ์ข้าว จะงอกเร็วและรากจะงอกยาวกว่าปกติ เพื่อสร้างต้นกล้าที่แข็งแรง ทนทานโรค
3. การใช้ร่วมกับยาฆ่า – คุมหญ้า หลังจาก ทำข้อ 1 ไปแล้ว 7 – 10 วัน
ไค โตซาน 1 ฝา ( 30 CC ) + น้ำ 20 ลิตร คนละลายให้เข้ากัน แล้วผสม ยาคุมหญ้า นำไปฉีดพ่น ผลที่ได้คือ หญ้าตายเรียบ แต่ต้นข้าวยังเขียวขจีไม่เหี่ยวเฉา
เพียว ไคโตซาน สำหรับการฉีดพ่นทางใบ
อายุต้นข้าวได้ 15  วัน ( ให้ฉีดพร้อมยาคุมหญ้า )ไคโตซาน 20 CC + น้ำ 20 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วใส่ยาคุมหญ้าไปทีหลัง
อายุต้นข้าวได้ 1 เดือน ฉีดพ่นอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 20 - 40 CC + น้ำ 20 ลิตรฉีดให้ทั่ว
อายุต้นข้าวได้ 2 เดือน ข้าวตั้งท้องฉีดอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 20 - 40 CC+ น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
ข้าวออกรวง ( หางปลาทู ) ฉีดอีก 1 ครั้ง ไคโตซาน 20 - 40 CC+ น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
ต้นข้าวที่เป็นโรค เพียวไคโตซาน 100 – 150 CC + น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว อีก 5 วัน ฉีดซ้ำอีกครั้ง
ต้นข้าว หน้าหนาว เพียวไคโตซาน 100 CC + น้ำ 20 ลิตร ฉีดให้ทั่ว
คลุกปุ๋ยเคมี หว่าน
เพียวไคโตซาน 500 CC + น้ำ 1 ลิตร ปุ๋ยเคมี 2 กระสอบ 100 ก.ก. คลุกเคล้าให้เข้ากัน ผึ่งให้หมาด ๆ เพื่อให้
เพียวไคโตซาน เคลือบเมล็ด ปุ๋ยไว้ จะได้ยืดอายุปุ๋ยให้สลายข้าลง พืชกินได้นานขึ้น แล้วนำไปหว่านให้ทั่ว ส่วนที่เหลือสามารถเก็บไว้ใช้ได้ในคราวต่อไป

จากประสบการณ์ของผู้ใช้จริงรับรองผลผลิตข้าวได้เกิน  100  ถัง
ต่อไร่
 

เทคนิคการปลูกข้าวหอมประทุมให้ได้ผลดีที่สุด? (จากประสบการณ์ของผู้ทำนาข้าว)

 
- ไม่ต้องรีบทำมาก ปีละ 2 ครั้งก็พอ ก่อนทำพยายามไถแล้วหมักฟางให้ดี แล้วค่อยไถ แล้วตีเทือก ระหว่างตี   
   เทือกปรับที่ให้ดี
- หว่านข้าวก็ใช้เมล็ดพันธุ์สัก 2 ถังครึ่ง-3 ถังก็พอไม่ต้องเผื่อนกเผื่อหนูเผื่อหอยให้มาก (เปลืองเงิน)
- ช่วงข้าวเล็กอายุ(20-25วัน)ไม่ต้องบ้าจี้หว่านยูเรีย(46-0-0) ประเภทข้าวไม่เขียวแล้วนอนไม่หลับเลิก
  พฤติกรรมนี้เสีย แต่ถ้าอยากหว่านปุ๋ยก็ให้ใช้ปุ๋ยเต็มสูตร เช่น 16-8-8หรือ18-4-5 ช่วงนี้ข้าวจะเริ่มแตกกอ
- ปล่อยให้ดินแห้งบ้างช่วง (35-45 วัน) (เวลาเกี่ยวข้าวจะได้ไม่หล่ม)
- พอข้าวอายุ 50-55 วัน ก็หว่านปุ๋ยเต็ม สูตร เช่น16-16-8 หรือ 20-20-8 ก็ได้อัตรา 1 กส/3-4ไร่
- พอข้าวได้ประมาณ 60-65 วันข้าวจะเริ่มท้อง พอ ข้าวได้สัก 80-90 วันข้าวจะออกรวงหมด
   ช่วงข้าวตาก  เกสร  ก่อนเข้าน้ำนมถ้ามีเงินก็หาปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หว่านอัตรา1 กส/5ไร่ เท่านี้ผลผลิต
   ก็ โอแล้ว เกวียนขึ้น  ลืมบอกไปพยายามเลี่ยงการออกรวงช่วงหนาวเพราะหอมปทุมไม่สู้หนาวเท่าไร
   อายุหอมปทุมประมาณ 110 วัน
 
ข้อควรระวัง
-    ก่อนหว่านปุ๋ยทุกครั้ง ควรระบายน้ำในแปลงออกเสียก่อน ถ้าในแปลงนาดำมีน้ำมากกว่า 15 ซม.
-    ระยะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 มักจะมีน้ำนาในมาก หรือท่วมคันนา ควรปล่อยน้ำออก
-    ไม่ควรหว่านปุ๋ยในขณะฝนตก หรือมีน้ำไหลบ่าท่วมคันนาให้รอจนกว่าน้ำจะลดต่ำกว่าคันนา
-    ในแปลงนา หากพื้นดินไม่เสมอกัน ต้องปรับระดับดินในระหว่างการคราดทุก ๆ ปี
-    หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้แปลงนาขาดน้ำเกิน 7 วัน
-    ช่วงข้าวตั้งท้องไปถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน นาจะขาดน้ำไม่ได้เลย
-    หมั่นเก็บหญ้าในนาข้าวออกอย่างน้อย 1-2 ครั้งก่อนใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง จะทำให้ปุ๋ยได้ผลดี
-    หมั่นตรวจและดูแล เพื่อป้องกันกำจัดโรคแมลงและศัตรูข้าวอื่น ๆ อยู่เสมอ
 
 การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตสูง
การทำปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตมากมาก นั้น จำเป็นต้องมีเทคนิค น่ารู้เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้กัน
และนี้เป็น บทความที่ได้นำมาจากที่อื่น เพื่อให้ได้อ่านและลองทำตามกันดี ครับ             
ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว Organic fertilizer in rice fields
การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่สูงๆ เรามักจำเป็นต้องมีการจัดการระบบการผลิต ข้าว ในแปลงปลูกให้ดี เริ่มจากการเตรียมแปลงปลูกข้าว ต้องเตรียมดินในแปลงนาให้มีความร่วนซุย หน้าดินลึกพอที่รากของต้นข้าวจะแผ่ลงไปหาธาตุอาหารในดินได้เต็มที่ ไม่ถูกกีดด้วยหน้าดินแข็งๆ ซึ่งรากข้าว ไม่สามารถลงไปลึกๆได้ ทำให้หาอาหารได้น้อยแล้ว ในช่วงหน้าหนาว โอกาสที่รากข้าวจะโดนอุณภูมิต่ำๆ จากบริเวณหน้าดินทำให้ รากชะงักการเจริญเติบโต ข้าวมีรากสีดำ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจสร้างความเสียหายต่อการให้ผลผลิตในแปลงนาได้มากพอสมควร   การ จัดการเพิ่มผลผลิตข้าวด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ก็มีความจำเป็นไม่แพ้การเตรียมดินในแปลงนาข้าวของเรา ถ้าหากเราเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าวผิดชนิด เราก็อาจได้ต้นข้าว หรือตอซัง มากกว่าเมล็ดข้าวเปลือก ที่เต็มเม็ด หรือได้ฟางข้าวมากพอๆกับแกลบ เป็นที่ทราบกันดีว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ในนาข้าว ส่วนมากมักจะทำให้ดินร่วนซุย สามารถปรับสภาพความเป็นกรด ด่าง ในแปลงนาข้าว ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี แต่สิ่งที่ควรคำนึงในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ก็คือวัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์สำหรับใส่ในนาข้าว เพราะ ส่วนมากแล้วปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว มักมีส่วนผสมของ ปุ๋ยคอก ประเภทมูลสัตว์ เป็นส่วนมาก ถ้าเป็นมูลสัตว์ประเภทกินหญ้าเป็นอาหาร มักจะประกอบไปด้วย ส่วนผสมที่เป็นซากพืช เมื่อเราเอามาใส่ต้นไม้ โดยเฉพาะข้าว จะทำให้ข้าวเจริญเติบโตทางลำต้นมากกว่า การให้ผลผลิต ทำให้ข้าวลำต้นสูงเกินความจำเป็นเหมือนกับเราใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือ ปุ๋ยยูเรีย นั่นเอง ดังนั้น ถ้าสามารถเลือกปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ได้ควรเลือกปุ๋ยที่มีสัดส่วนของมูลสัตว์ประเภทกินหัวอาหาร เช่น มูลสุกร มูลไก่ไข่ ซึ่งจะมีเศษโปรตีน เหลือทิ้งจำนวนมากในมูลสัตว์ประเภทนี้ ข้าวที่เราปลูกก็จะให้ผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวที่มีน้ำหนักและลำต้นไม่สูงทำให้ไม่ล้มง่ายอีกด้วย  ดังนั้นการเลือกใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว เราควรสอบถามถึงส่วนผสมของปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ให้แน่ใจเสียก่อน ยกเว้นเราต้องการปลูกข้าวเอาลำต้นข้าวเพื่อเกี่ยวฟางไว้ให้วัวควาย ก็ไม่ต้องสนใจว่าปุ๋ยอินทรีย์ในนาข้าว ทำมาจากอะไร
 
 วิธีเตรียมดินปลูกข้าว ให้ได้ผลผลิตสูงๆ
วิธีเตรียมดินปลูก
ข้าว How to prepare soil for planting rice. แบบใหม่ ที่สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้มากกว่าไร่ละ 1,000 กิโลกรัม วิธีการปลูกข้าวแบบนี้เป็นวิธีการที่เรามักทำกันอยู่แล้ว แต่สภาพของการทำนาข้าว ซึ่งส่วนมากเป็นข้าว กข. หรือข้าวนาปรัง ทำให้เรามักเร่งรีบในการเตรียมการเรื่องดิน ซึ่งทำให้เราเสียโอกาสในการสร้างความสามารถในการหาอาหารให้กับต้นข้าว เนื่องจากเรามักจะทำการเตรียมดิน หรือทำเทือก ในนาข้าว กันแบบ ลวกๆ ทำให้หน้าดินที่เราใช้หว่านข้าวไม่ลึก รากของข้าวจึงหาอาหารได้แค่ผิวหน้าดิน กินได้แต่ปุ๋ยข้าว ที่เราใส่ให้เท่านั่นธาตุอาหารในดิน รากข้าวไม่สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้ ข้าวของเราจึงให้ผลผลิตไม่เต็มที่
เรามาดูวิธีการเตรียมดินในแปลงนาข้าวแบบปราณีตกันว่าทำอย่างไร
การเตรียมดินในนาก่อนหว่านข้าว หรือ ดำนา ไม่ว่าเราจะใช้รถไถนาเดินตาม หรือ รถไถนาแบบนั่งขับ แบบใช้โรตารี่ จอบหมุน เราควรทำการปรับความลึกให้ได้ความลึกของหน้าดินที่มากกว่าปกติ ถ้าเราสามารถเตรียมดินในแปลงนาข้าวในช่วงที่แปลงนาแห้งได้ก็จะเป็นการดีมาก ให้เราใช้ผาน 3 ในการไถครั้งแรก เพื่อทำการสลายหน้าดินให้ในนาให้มีความร่วนซุย หลังจากนั้นให้เราทำการหว่านปุ๋นเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตรา 4 ไร่ ต่อ กระสอบ พร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกเช่นมูลไก่ไข่ มูลสุกร ให้หลีกเลี่ยงการใช้มูลจากสัตว์กินพืช เนื่องจาก มูลสัตว์กินพืชจะทำให้ต้นข้าวโตแต่ลำต้นเพียงอย่างเดียวทำให้ข้าวล้มง่าย หลังจากนั้นใช้ผาน 7 ไถอีกรอบ ก่อนไขน้ำเข้านา แล้วใช้รถไถเล็กทำเทือก เพื่อทำการหว่านแบบน้ำตม หรือดำนาด้วยเครื่องดำนาต่อไป  ในการเตรียมดินในแปลงนาข้าวสิ่งสำคัญก็คือการปรับโครงสร้างของดินให้มีความลึกมากพอที่ รากของข้าวจะแผ่ขยายลงไปได้ลึกมากที่สุด และสามารถหาอาหารได้มากโดยที่เราให้อาหารเสริมหรือปุ๋ยตามปกติวิธีการปลูกข้าวด้วยการเน้นการเตรียมดินแบบนี้ถ้าจะให้ผลดีควรเลือกพันธุ์ ข้าวที่มีอายุประมาณ 120- 140 วัน เช่น พันธุ์ข้าวหอมประทุม ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกกอดี และมีระแง้ถี่มาก ร่วมกับการใช้เทคนิคการให้ปุ๋ยทางใบสูตร 11-0-45 ฉีดพ่นเร่งการสร้างระแง้ในรวงข้าวเมื่อข้าวอายุ 55-65 วันด้วยก็จะช่วยให้ผลผลิตข้าวของเราเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย จากประสบการณ์ในการทำนาข้าวแบบนี้ แม้ว่าเป็นนาดินทราย ข้าวก็สามารถให้ผลผลิตมากกว่า 1,200 กิโลกรัม ลองเอาวิธีการปลูกข้าว แบบนี้ไปใช้ดูครับ
 
 ปุ๋ยข้าว Rice Fertilizer เร่งการแตกระแง้ให้รวงข้าว
วิธีการใส่ปุ๋ยข้าว ให้ได้ผลผลิตสูงๆ ทำอย่างไร วันนี้ มีเคล็ดลับในการทำนาปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมแบบก้าวกระโดด  การทำนาให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกเป็นจำนวนไร่ละประมาณ 1 ตัน สามารถทำได้แน่นอนครับ ไม่ต้องแปลกใจซึ่งการเพิ่มผลผลิตข้าวให้ได้มากนั้นมีปัจจัยในการปลูกข้าวไม่กี่อย่างดังนี้
เรื่องแรกเลยเราต้องทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีให้ได้เสียก่อน การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีสามารถทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากแน่นอน ดูง่ายๆ ถ้าเราเลือกปลูกข้าวนาปี กับข้าว กข. แข่งกัน แน่นอนว่าข้าวพันธุ์ กข. ย่อมให้ผลผลิตสูงกว่าแน่นอน หรือ ในสายพันธุ์ข้าว กข. ถ้าเราเลือกปลูกข้าวพันธุ์หอมประทุม เราก็จะได้ผลผลิตประมาณไร่ละ 1,000 กิโลกรัม ดังนั้นการตัดสินใจใช้พันธุ์ข้าวที่ดีย่อมส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตข้าวแน่นอน
ปัจจัย ต่อมา การเตรียมแปลงนา และวิธีการปลูกข้าว ที่ได้ผลดี นั้น เราต้องจัดการแปลงปลูกข้าวให้ดี วิธีที่ดีที่สุด ในการปลูกข้าวก็คือการหว่านข้าวแบบนาน้ำตม รองลงมาก็คือการดำนาข้าว ด้วยต้นกล้าอ่อนๆ อายุกล้าไม่ควรเกิน 20 วัน ครับ ส่วนมาก แล้วการดำนา เรามักใช้กล้าข้าวที่มีอายุ มากกว่า 1 เดือน ทำให้ได้ต้นข้าวที่แก่ไม่เหมาะในการตั้งท้องให้ผลผลิต
การใส่ปุ๋ยข้าว เรื่องของปุ๋ยข้าวมีส่วนสำคัญมาก ใส่ปุ๋ยข้าวผิด แทนที่จะได้เมล็ดข้าวกับได้ฟางข้าวแทน หลักในการใส่ปุ๋ยข้าวนั้นให้ใช้หลักการใส่ปุ๋ยแบบใส่ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จะทำให้ข้าว ได้ปุ๋ยไปบำรุงลำต้นได้เต็มที่ ทีนี้มาเข้าเรื่องวิธี การใสปุ๋ยข้าวเพื่อเร่งการแตกระแง้ให้รวงของข้าว เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดข้าวให้มากต่อ 1 รวง ทำอย่างไร ถ้าเราปลูกข้าว กข. ให้เรา นับเวลาช่วงประมาณ 55- 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย ในอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วฉีดพ่นด้วย ปุ๋ยทางใบสูตร 11-0-52 ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อ 4-5 ไร่ หลังจากนั้นช่วงข้าวตากเกสร ให้ทำการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตรเดิมอีกทีเป็นการเร่งน้ำนมให้กับเมล็ดข้าว ให้อ้วนใหญ่มีน้ำหนักมาก การใส่ปุ๋ยเร่งระแง้วิธีนี้ ถ้าหากจะใช้กับข้าวนาปี ให้ใส่ ในช่วงวันที่ 15-20 กันยายน ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงวันที่มีการเปลี่ยนแปลงของช่วงแสง จากกลางวันยาว เป็นกลางวันสั้น ข้าวนาปีจะเริ่มผลิตาดอกเพื่อตั้งท้องในช่วงนี้ของทุกปี หลังจากนั้น ให้ ตามด้วยการฉีดปุ๋ยทางใบช่วงข้าวกำลังผ่าหลาม หรือเริ่มมีรวงโผล่ออกมาจากท้องอีกที วิธีการใส่ปุ๋ยข้าวแบบนี้ สามารถทำให้เราได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากเดิม มาก 20- 60 % เลยที่เดียว ลองไปใช้ดูครับ
 
วิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มาทำลาย ข้าว ใน แปลงนา ของเรา
                เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูพืชที่สำคัญของคนทำนาปลูกข้าว ชาวนาทุกคนรู้จักแมลงชนิดนี้ดี เพราะบางทีแมลงชนิดนี้สร้างความเสียหายได้ในชั่วข้ามคืนถึงกับหมดเนื้อหมดตัว เรามาทำความรู้จัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกันก่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะเป็นแมลงขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร สีน้ำตาล มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) มีชื่อ ภาษาอังกฤษว่า Brown planthoppe และชื่อวิทยาศาสตร์: Nilaparvata lugens (Stal) ) เป็นแมลงศัตรูพืช ชนิดปากดูด โดยมักทำลาย ข้าว โดยดูดน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตจนทำให้ข้าวแห้งตาย เป็นจุดๆ ในแปลงนา และขยายตัวเป็นวงกว้าง ออกไปตามปริมาณของเพลี้ยกระโดดที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริเวณที่มีเพลี้ยเกาะอยู่ มีลักษณะคล้ายใบโดนน้ำร้อนลวก ใบเหลือง แดงและต้นข้าวตาย หากข้าวที่ถูกดูดกินน้ำเลี้ยงไม่ตาย เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เกิดโรคใบหงิก หรือโรคจู๋ ข้าวไม่ออกรวง สร้างความเสียหายแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างมาก
                   วิธีการป้องกันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในแปลงนาที่เราปลูก มีหลายวิธีการ แต่ในที่นี้จะแนะนำวิธีการ แบบง่ายๆ แต่เรา ไม่ค่อยจะทำกัน เรียกว่าเป็นการ ป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ
                     วิธีแรก เริ่มจากการเตรียมแปลงนาปลูกข้าวให้สะอาด ปราศจากวัชพืช ซึ่งเป็นที่อาศัยของแมลงศัตรูข้าว เนื่องจากในบางครั้งหลังจากเราเก็บเกี่ยงผลผลิตข้าว รุ่นก่อนหน้านี้แล้ว อาจมีแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวอาศัยอยู่ เราต้องตัด และเผาทำลายทิ้งให้หมด ให้เผาเฉพาะ วัชพืชตามคันนา ส่วนฟางข้าว ให้หมักด้วยจุลินทรีย์สำหรับย่อยสลายตอซัง และฟางข้าว ดินในนาของเราจะได้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น
                      วิธีที่สอง การหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ใช้ อัตราส่วน 30- 40 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ ในบางแปลงปลูกข้าว ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวมากถึง 60 กิโลกรัมต่อ 1 ไร่ สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์โดยใช่เหตุ ไม่ควรมากกว่านี้ เนื่องจากจะทำให้ ต้นข้าวขึ้นอย่าง แออัด หนาแน่นเกินไป แสงแดดส่องลงไปไม่ถึง โคนต้นข้าว ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบมาอาศัยและวางไข่ และดูดน้ำเลี้ยงต้นข้าว รวมทั้งทำให้การเชื้อรา ได้ง่ายๆ
                      วิธีที่สาม การใส่ปุ๋ยให้กลับแปลงนาปลูกข้าว ควรแบ่งระยะการใส่เป็นช่วงๆ หากเป็นไปได้ แนะนำให้ใส่ 4 ระยะของการเจริญเติบโตของข้าวดังนี้
                       ระยะที่ 1 หลังจากไขน้ำเข้านา ข้าวอายุ 10-20 วัน ใส่ปุ๋ย ที่มี N P Kโดยให้ ปุ๋ยตัวแรก สูงที่สุดและไล่ตามมาต่ำสุดที่ตัวท้าย และผสมยูเรีย (46-0-0)ในอัตราส่วน 1 ต่อ 3  แบบ หว่านลงแปลงนาข้าว
                       ระยะที่ 2 ข้าวอายุ 35- 45 วัน  ใส่ ปุ๋ยเต็มสูตร ที่มี N P K โดยให้ ปุ๋ยตัวแรก สูงที่สุดและไล่ตามมาต่ำสุดที่ตัวท้าย
                       ระยะที่ 3 ข้าว อายุ 55-65 วัน   ใส่ปุ๋ยผสมทางใบ N และ K โดยให้ มีสูตร N ต่ำกว่า K  3-5เท่า เช่น สูตร 11-0-52 โดยการฉีดพ่นทางเครื่อง อัดแรงดัน แบบลากสาย อัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อ น้ำ 200 ลิตร ซึ่งปุ๋ยสูตรนี้ จะมีส่วนทำให้ ข้าวมีการพัฒนาตาดอก สร้างระแง้ เพื่อรองรับเมล็ด ออกมาเป็นจำนวนมาก เป็นเคล็ดลับในการเพิ่มผลผลิตข้าว ที่ชาวนา หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว น้อยคนที่จะรู้ ข้อสำคัญเราต้องคาดคะเนเวลาให้เหมาะสมในช่วงที่ข้าวกำลังสร้างตาดอกก่อนการตั้งท้อง
                    ระยะที่ 4 ข้าว ตั้งท้อง ใส่ปุ๋ยผสมเต็มสูตร N P K โดยให้มี  K สูงที่สุด ในจำนวน ธาตุอาหาร 3 ตัว ร่วมกับการใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 11-0-52 
                    ในที่นี้ จะยัง ไม่ขอกล่าวรายระเอียดลึกๆ เกี่ยวกับ ปุ๋ยข้าว แต่ที่นำเสนอเรื่องวิธีการใส่ปุ๋ยข้าว มามากพอสมควรเพราะว่าตามปกติ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวมักจะใช้ ปุ๋ย ยูเรีย( N )  เป็นจำนวนมาก ตลอดอายุ การเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งทำให้ ต้นข้าวมีความอ่อนแอ เนื่องจากปุ๋ยยูเรีย จะไปเร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้นข้าวเพียงอย่างเดียว ทำให้ใบเขียว ต้นสูง แต่ผลเสียที่ตามมาคือ แมลงแทบทุกชนิดชอบต้นข้าวที่มีลักษณะอวบอ้วนที่เกิดจากการใช้ N เกินความจำเป็น โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพลี้ยกระโดด เพิ่มขึ้น หากรอดจากเพลี้ยกระโดด ข้าวที่ให้ผลผลิตระยะ ก่อนการเก็บเกี่ยว อาจล้มง่าย ซึ่งเป็นที่รู้ดีว่าหากข้าวล้มพังพาบกับพื้นนาเสียแล้ว การเก็บเกี่ยว ก็จะไม่ได้ผลลิตเต็มที่ พอๆกับการถูกทำลายด้วยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
                     วิธีการวิธีการปลูกข้าว ไม่ให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาทำลายข้าวในแปลงนาของเรา ดังกล่าวมาเป็นวิธีการที่ต้องมีการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแปลงนาของแต่ละ คน รวมถึงสายพันธุ์ข้าวที่ทำการปลูกด้วย
วิธีการกำจัดข้าวดีด ข้าวนก ข้าววัชพืช ในแปลงนาปลูกข้าว อย่างได้ผล
              การทำนาปลูกข้าว กข หรือการปลูกข้าวนาปรัง ในปัจจุบันนี้ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องโรคของข้าว และแมลงศัตรูข้าว แล้วเกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังเจอกับ ข้าววัชพืช บางท้องที่เรียกว่าข้าวนก หรือข้าวดีด ซึ่งข้าวพวกนี้จะมี ลักษณะ คล้ายต้นข้าวปกติ แต่หลังจาก เจริญเติบโตมาได้ระยะหนึ่งจะออกรวง และสุกก่อนข้าวที่เราปลูก      
              เมล็ดข้าวดีดที่สุกแล้วจะมีลักษณะเหมือนกับเมล็ดข้าวที่เราปลูก แต่มีขนาดเมล็ดเล็ก สั้น บางชนิดมีหาง บางชนิดมีสีน้ำตาล แตกต่างกันไปตามสภาพ การกลายพันธุ์ ของข้าวที่ปลูก แต่ส่วนมากข้าววัชพืชพวกนี้จะสุกไวกว่าพันธุ์ข้าวปกติ และหลุดร่วงง่าย แม้ลมพัดเบาๆ ขนาดนกบินผ่าน จึงเป็นที่มาของคำว่าข้าวดีด ข้าวนก นั่นเอง
               ความที่ข้าววัชพืชพวกนี้ สุกไว ร่วงง่าย ทำให้เกิดการขยายพันธุ์ผสมปนไปกับพันธุ์ข้าวปลูกหลัก ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวขาดทุนย่อยยับเนื่องจากหว่านข้าวแล้วได้แต่ต้นข้าววัชพืช
               วิธีการกำจัดข้าววัชพืช ข้าวดีด ข้าวนกที่ได้ผลดี  คือการงดการทำนาข้าวรุ่นต่อไป เป็นการพักดิน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้นเอง แต่การพักดินในแบบนี้จะต้องมีการทำเทือก ไถพรวน เตรียมดินเหมือนกับการทำนาทุกอย่างแต่เราจะไม่หว่านพันธุ์ข้าวปลูกลงไปเท่า นั้นเอง หลังจากเตรียมดินเรียบร้อยให้ ไขน้ำออกจากแปลงนา ทิ้งไว้ให้ข้าววัชพืชงอก 10-15 วัน แล้ว ไถพรวน เตรียมดินแบบเดิม อีก ครบ 3 รอบ ให้สังเกต ดูว่า ยังมีข้าววัชพืชงอกอีกหรือไม่  ส่วนมากหลังจากรอบที่ 3 ไปแล้ว ข้าววัชพืช จะมีเหลือน้อยมาก เราก็ทำนาปลูกข้าวได้ตามปกติ

               เราจำเป็นต้องเสียเวลาเพื่อกำจัดข้าววัชพืชพวกนี้ 1-2 เดือน แต่คุ้มค่ากว่าการปล่อยให้ ข้าวดีด ข้าววัชพืชพวกนี้ขึ้นมาปะปน กับพันธุ์ข้าวหลักที่เราปลูก มิฉะนั้นท่านจะเสียเงิน หว่านปุ๋ยบำรุงข้าววัชพืชแทนข้าวที่ท่านต้องการจะเก็บเกี่ยว
               จำไว้ว่า วิธีการกำจัดข้าววัชพืช ข้าวดีด ข้าวนกด้วยสารเคมีที่ได้ผลดี นั้น ยังไม่มี นะครับ หากจะให้แปลงนาข้าวของท่าน ปราศจากข้าววัชพืช ให้ใช้วิธีการดังกล่าวร่วมกับการ กับข้าวดีดด้วยมือ เพื่อไม่ให้ มีเมล็ดพันธุ์ข้าววัชพืชหลงเหลืออยู่ในแปลงนาอีกต่อไป
ปลูกข้าวหน้าแล้ง ดูแลน้ำให้พอเพียง
ช่วงที่เข้าสู่หน้าแล้ง น้ำสำหรับการทำนาข้าว กข หรือข้าวนาปรัง อาจมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวนอกฤดูกาล ขอให้ทำการตรวจสอบแหล่งน้ำชลประทานให้ดี ว่าจะมีเพียงพอหรือไม่ปีไหนมีการกักเก็บน้ำสำรองในเขื่อนขนาดใหญ่ น้อยมาก สำหรับผู้ที่ทำนาข้าวไปแล้ว ให้เร่งสำรวจแปลงนาข้าวของเราว่ามี บ่อน้ำสำรองไว้หรือยัง ควรเตรียมการเสียแต่เนิ่นๆ นะครับ เพราะข้าว มีความต้องการใช้น้ำมาก โดยเฉพะช่วง ข้าว กำลังออกรวง ถ้าช่วงนี้ ขาดน้ำ จะส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง อย่างมาก อาจทำให้การลงทุนปลูกข้าวครั้งนี้ประสพกับภาวะการขาดทุนได้ทีเดียว
การปลูกข้าว ให้ได้ผลผลิตสูง เกษตรกรต้อง มีวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างดีเท่านั้น และจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ... เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ปลูกนั้น ควรได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะพันธุ์ข้าวไม่เหมือนกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันหลายประการ ดังนี้ ... รูปต้นดี สูงประมาณ 10-120 เซนติเมตร แตกกอมากใบสีเขียวแก่ ใบตรงไม่โค้งงอ มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง คือ..ให้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้นในที่ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็น ประจำ ให้เปลี่ยนวิธีปลูกข้าว จากการปักดำมาปลูกโดยการหว่านข้าวแห้งไม่ควรรอให้ฝนตก ได้น้ำพอเพียงในการตากกล้าและปักดำ เพราะจะล่วงเข้ามาในฤดูกาลมาก ทำให้ข้าวที่ปักดำไม่เท่าไรก็จะตั้งท้องและออกดอก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ   ดังนั้น การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรปฏิบัติดังนี้
พิจารณาพันธุ์
การรู้คุณสมบัติของพันธุ์ข้าวก่อนปลูก จะทำให้สามารถดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนั้นได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดความเสียหายและรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ถูกต้องตรงตามพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวนาปีหรือนาปรัง มีอายุเก็บเกี่ยวเมื่อไร
- มีรูปแบบ ขนาด สี ต้น รวง และเมล็ดอย่างไร เมล็ดร่วงหล่นง่ายหรือยาก
- มีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร เช่น แตกกอดีหรือไม่ ต้านทานโรคแมลงอะไร เป็นต้น
- ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive varieties) เป็น พันธุ์ข้าวที่จะออกดอกได้ในช่วงวันสั้น (น้อยกว่า 12 ชั่วโมง) ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม (ดังยกตัวอย่างมาแล้ว) ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้จะปลูกได้เฉพาะ นาปี ถ้าปลูกในนาปรังจะไม่ออกดอก พันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์ กข. ที่ไวต่อช่วงแสงได้ กข.5, กข.6, กข.8, กข.13, กข.15, กข.19, และกข.17
- ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง (photoperiod insensitive varieties) พันธุ์ข้าวจำพวกนี้จะออกดอกได้โดยไม่ขึ้นกับความยาวของช่วงวันจะขึ้นอยู่กับ อายุเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน และใช้เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในนาปรัง ซึ่งต้องอาศัยน้ำชลประทาน พันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ กข.1, กข.2, กข.3, กข.4, กข.7, กข.9, กข.10, กข.11, กข.17, กข.21, กข.23 และ กข.25 ส่วนพันธุ์พื้นเมืองมีอยู่พันธุ์เดียว คือ พันธุ์เหลืองทอง

ข้อพิจารณาพันธุ์ข้าวมาปลูก
น้ำ ลึกไม่เกิน 50 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : ปลูกเดือนมีนาคม อาทิ ชัยนาท 1, พิษณุโลก 60-2, สุพรรณบุรี 1 / สุพรรณบุรี 2 / เหนียวสันปาตอง, กำพาย,เหลืองประทิว 123, นางพญา 132
น้ำ ลึกไม่เกิน 80 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง (ต้นสูง) : ปลูกเดือนสิงหาคม อาทิ พิษณุโลก 60-1, หอมพิษณุโลก 1, ขาวดอกมะลิ 105, กข 15, เหลืองประทิว 123, ขาวตาแห้ง 17 เป็นต้น
นาหว่านข้าวแห้ง หรือ นาหว่านสำรวย พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : พันธุ์ข้าวควรมีอายุพอเหมาะกับช่วงฝนตก อาทิ ตระกูล กข., เหมยนอง 63, ขาวดอกมะลิ, เหลืองใหญ่, เผือกน้ำ 43, สุพรรณบุรี 60, ปทุมธานี 60, ชุมแพ 60, พัทลุง 60, ชัยนาท 1, หอมคลองหลวง 1, ดอกพยอม, ปิ่นแก้ว 56, เก้าราง 88

เมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ควรตรวจเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะดังนี้
- เมล็ดพันธุ์ต้องสะอาดและไม่มีโรคแมลง
- ไม่มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นๆปะปน ถ้ามีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ปะปนไม่มากให้เก็บออก
- ไม่มีเมล็ดวัชพืชปะปน ถ้ามีปะปนให้ฝัด การร่อน การคัดน้ำเกลือ หรือเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ใหม่
- ทดสอบความงอกของเมล็ดก่อน เมล็ดที่นำไปเพาะควรงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เ